ความเป็นมาของโปรแกรม
โปรแกรม
Pro/DESKTOP เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
ที่มีความสามารถใช้ในการออกแบบงานชนิด 3 มิติได้
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความเป็นมาของโปรแกรม Pro/DESKTOP
ได้
2. อธิบายความสามารถของโปรแกรม Pro/DESKTOP ได้
3. อธิบายถึงจุดเด่นของโปรแกรม Pro/DESKTOP ได้
โปรแกรม Pro/DESKTOP คืออะไร
Pro/DESKTOP เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางการศึกษาที่ใช้สอนนักเรียนในเรื่องการออกแบบและสร้างงาน 3 มิติ ซึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Pro/DESKTOP นี้ง่ายต่อการใช้งาน และมีความเหมาะสมต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โดยสามารถนำโปรแกรม Pro/DESKTOP มาเป็นเครื่องมือในการออกแบบและสร้างชิ้นงานที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนเอง ซึ่งการสร้างชิ้นงานสามารถมองเห็นชิ้นงานเป็น 3 มิติเสมือนจริง อีกทั้งนักเรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจการสร้างสรรค์ชิ้นงาน และออกแบบผลิตภัณฑ์ในเชิงการตลาด หากนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการใช้โปรแกรม Pro/DESKTOP มากขึ้นจะเป็นแนวคิดและมองเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพในอนาคต เป็นวิศวกร นักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและนักเทคโนโลยี เป็นต้น โปรแกรม Pro/DESKTOP นี้เหมาะสำหรับใช้สอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษา วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ซึ่งใช้เวลาในการศึกษาเรียนรู้เพียง 2-3 สัปดาห์ก็สามารถทำความเข้าใจได้เป็นอย่างดี สำหรับการเรียนการสอนเพื่อใช้ในการสร้างชิ้นงาน/โครงงานของนักเรียน จะใช้เวลาเพียง 2-3 ชั่วโมง ก็จัดสร้างชิ้นงานขั้นพื้นฐานได้เป็นอย่างดี อีกทั้งนักเรียนสามารถนำโปรแกรม Pro/DESKTOP นี้ไปใช้และฝึกปฏิบัติงานที่บ้านได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้นักเรียนเกิดความชำนาญในการใช้โปรแกรม Pro/DESKTOP เพิ่มขึ้น
โปรแกรม Pro/DESKTOP ทำอะไรได้บ้าง
โปรแกรม Pro/DESKTOP สามารถใช้ฝึกทักษะและสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ เช่น1. การออกแบบโครงร่างชิ้นงาน
2. การทำรูปทรง 3 มิติ ต่าง ๆ
3. การออกแบบทางด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม
4. การออกแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
5. การออกแบบชิ้นงาน Animation
6. การจัดทำภาพฉาย (Projection)
ฯลฯ
โปรแกรม Pro/DESKTOP เข้ามาสู่วงการศึกษาประเทศไทยได้อย่างไร
เมื่อปลายปีงบประมาณ 2546 บริษัท PTC U.S.A.ได้ติดต่อมายังกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อมอบโปรแกรม Pro/DESKTOP พร้อมลิขสิทธิ์ใช้งานสำหรับนักเรียนไทยในระดับมัธยมศึกษา โดยมี นายพงศ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล (ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น) เป็นผู้รับฟังการนำเสนอศักยภาพของโปรแกรม จากนั้นคณะเข้าพบ พณฯนายกรัฐมนตรี เพื่อมอบโปรแกรมดังกล่าวไว้ใช้ประโยชน์พร้อมทั้งมีวิทยากรชาวต่างประเทศ สาธิตการใช้โปรแกรมภายใต้การตรวจรับโดยผู้เชี่ยวชาญด้าน IT จากหน่วยงานต่าง ๆโปรแกรม Pro/DESKTOP มี 2 ระดับ คือ โปรแกรมที่ใช้ในระดับมัธยมศึกษา และระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งประเทศไทยได้รับมอบโปรแกรม Pro/DESKTOP เพื่อการใช้งานฟรี จำนวน 20 ชุด สำหรับระดับมัธยมศึกษา โดยอนุญาตให้นักเรียนไทยทุกคนใช้ได้ โดยไม่มีข้อจำกัด ยกเว้นถ้านำไปใช้ในเชิงธุรกิจ
ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้ให้ข้อคิดเห็นว่า โปรแกรม Pro/DESKTOP มีรูปแบบการใช้งานที่ง่ายต่อการเรียนรู้ เหมาะกับการเรียนในระดับมัธยมศึกษา น่าจะขยายผลการใช้งานให้ครอบคลุมทั้งประเทศ ผนวกกับขณะนี้ ทางโครงการโรงเรียนในฝันกำลังต้องการเครื่องมือในการผลิตสื่อใช้งาน จึงเห็นพ้องกันว่าโปรแกรม Pro/DESKTOP นี้ น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งของโครงการโรงเรียนในฝัน จึงได้จัดการฝึกอบรมนำร่องให้กับคณะศึกษานิเทศก์ และครู จำนวน 38 คน เพื่อทดลองใช้โปรแกรม Pro/DESKTOP โดยมีวิทยากรชาวต่างประเทศ ให้การฝึกอบรม
ก่อนที่จะขยายผลไปยังโรงเรียนอื่น ๆ ทั่วประเทศ
จุดเด่นของโปรแกรม Pro/DESKTOP
โปรแกรม Pro/DESKTOP ง่ายต่อการใช้งานพอสมควร และสามารถฝึกทักษะด้านกระบวนการคิดสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งผู้ใช้งานโปรแกรม Pro/DESKTOP ได้ศึกษาและฝึกทักษะให้มีความชำนาญและเชี่ยวชาญ ก็จะสามารถนำโปรแกรม Pro/DESKTOP ไปใช้ในการออกแบบต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันและประกอบอาชีพได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อออกแบบผลิตภัณฑ์หรือชิ้นงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว โปรแกรม Pro/DESKTOP สามารถแสดงภาพฉายของชิ้นงานให้ด้วย ซึ่งผู้สร้างชิ้นงานไม่ต้องเขียนภาพฉายอีก นอกจากนี้ ยังสามารถออกแบบ Model ที่แสดงภาพการเคลื่อนไหว หรือลักษณะการใช้งานของModel นั้น ๆ ได้ด้วยการออกแบบรูปทรงแกลลอน
การออกแบบรูปทรงแกลลอนพร้อมมือจับ เป็นการประยุกต์ใช้รูปแบบการหมุนรอบแกนในการออกแบ
แล้วการตัดวัตถุบางส่วนออก พร้อมเจาะวัตถุเพื่อสร้างเป็นมือจับ
จุดประสงค์การเรียนรู้
- สามารถออกแบบวัตถุทรงแกลลอนพร้อมที่จับแบบเจาะได้
ขั้นตอนการออกแบบ
1. คลิกเครื่องมือ

2. เลือก View Onto workplane

3. ใช้เครื่องมือเส้นตรงวาดรูปทรงตามภาพ เมื่อวาดเส้นร่างบรรจบกันจะเกิดสีบนพื้นที่ (fill)

4. คลิกเลือกด้านที่ต้องการเป็นแกนหมุน
(เช่นเดียวกับการทำรูปทรงแก้ว)เลือกเมนู Feature
--> Revolve Profile
หรือ คลิกเครื่องมือ
บนแถบเครื่องมือ Feature คลิกปุ่ม OK หรือกดแป้น Enter
จะได้รูปทรงดังภาพ
หรือ คลิกเครื่องมือ



5. คลิกปุ่ม (Select Workplanes)
6. คลิกเลือก Leteral จาก Brower Workplane
7. คลิกขวาที่เมนู Leteral Workplane เลือก New Sketch ตั้งชื่อ Sketch ตามความเหมาะสม
8. เลือก View Onto workplane
9. วาดภาพสี่เหลี่ยม 2 ภาพ ขนาดเท่ากัน ด้านซ้ายและขวาของแกลลอน ดังภาพ (ควรใช้วิธีการ Copy)
6. คลิกเลือก Leteral จาก Brower Workplane
7. คลิกขวาที่เมนู Leteral Workplane เลือก New Sketch ตั้งชื่อ Sketch ตามความเหมาะสม
8. เลือก View Onto workplane

9. วาดภาพสี่เหลี่ยม 2 ภาพ ขนาดเท่ากัน ด้านซ้ายและขวาของแกลลอน ดังภาพ (ควรใช้วิธีการ Copy)

10. เลือกมุมมอง View
Isomatric
11. คลิกมนู Feature เลือกคำสั่ง Extrude Profile
คลิกปุ่ม Subtract material เพื่อกำหนดให้เซาะวัตถุ
คลิกปุ่ม Symmetric about workplane เพื่อกำหนดให้ตัดทั้ง 2 ด้านแบบเท่ากัน
กำหนดค่า Distance ให้มีค่ามากพอที่จะตัดส่วนโค้งของแกลลอนจนหมด สังเกตจากโครงร่างสีเหลือง
11. คลิกมนู Feature เลือกคำสั่ง Extrude Profile
คลิกปุ่ม Subtract material เพื่อกำหนดให้เซาะวัตถุ
คลิกปุ่ม Symmetric about workplane เพื่อกำหนดให้ตัดทั้ง 2 ด้านแบบเท่ากัน
กำหนดค่า Distance ให้มีค่ามากพอที่จะตัดส่วนโค้งของแกลลอนจนหมด สังเกตจากโครงร่างสีเหลือง

12. คลิกปุ่ม OK
จะได้ภาพแกลลอนที่ถูกตัดส่วนโค้งเรียบร้อย ดังภาพ

การเจาะทำมือจับ
1. เลือกแถบเครื่องมือ Select Faces
คลิกเลือกพื้นผิวข้างใดข้างหนึ่งที่ต้องการเจาะเป็นมือจับ
จะสังเกตเห็นพื้นผิวที่เลือกเป็นสีแดง
2. คลิกขวาบนพื้นผิวที่เลือก เลือกคำสั่ง New Sketch ตั้งชื่อ Sketch ตามความเหมาะสม เลือก OK
3. วาดรูปทรงโค้ง โดยใช้รูปสี่เหลี่ยม และ ทรงกลม ประกอบกัน แล้วตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก
2. คลิกขวาบนพื้นผิวที่เลือก เลือกคำสั่ง New Sketch ตั้งชื่อ Sketch ตามความเหมาะสม เลือก OK
3. วาดรูปทรงโค้ง โดยใช้รูปสี่เหลี่ยม และ ทรงกลม ประกอบกัน แล้วตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก

4. คลิกมนู Feature เลือกคำสั่ง Extrude Profile คลิกปุ่ม Subtract material และ Below workplane แล้วใช้เมาส์จับปุ่มเหลือง ดึงให้หลุดไปด้านหลังแกลลอน หรือใส่ค่า Distance ดังภาพ

5. คลิกปุ่ม OK
จะได้ภาพแกลลอนที่มีมือจับเป็นส่วนโค้ง
6. เจาะแกลลอนเพื่อใช้บรรจุสิ่งของ โดย Select Faces เลือกส่วนปากของแกลลอน
7. คลิกเครื่องมือ Shell Solids บนแถบเครื่องมือ Feature กำหนดค่า Offset = 2 ดังภาพ
6. เจาะแกลลอนเพื่อใช้บรรจุสิ่งของ โดย Select Faces เลือกส่วนปากของแกลลอน
7. คลิกเครื่องมือ Shell Solids บนแถบเครื่องมือ Feature กำหนดค่า Offset = 2 ดังภาพ

8. คลิกปุ่ม OK จะได้แกลลอนพร้อมมือจับ
และเจาะให้กลวง ดังภาพ

ตัวอย่างแกลลอนรูปทรงอื่นๆ

